RSS

วิวัฒนาการของ DSS

15 ม.ค.

วิวัฒนาการของ DSS สามารถแบ่งได้เป็น 5 ระยะ
• ระยะที่ 1:
กลางปี 1950 เริ่มมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจ ระบบที่นำมาใช้ได้แก่ TPS สำหรับระบบประมวลผลรายการข้อมูล และ การจัดทำรายงานสารสนเทศ
• ระยะที่ 2:
ระหว่างปี 1960-1970 มีการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อนำไปใช้ในสำนักงาน ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และลดปริมาณกระดาษได้อย่างมากเรียกว่า ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS)
• ระยะที่ 3:
ระหว่างปี 1970-1980 มีการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของผู้บริหาร ต่อมา DSS ถูกนำมาไปใช้ทำงาน 2 ลักษณะคือ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (EIS) และระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Support System: GSS)
• ระยะที่ 4:
ตั้งแต่กลางทศวรรษปี 1980 มีการพัฒนาระบบที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นที่ปรึกษาของผู้บริหารเรียกว่า “ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System: ES)”
ในปี 1990 มีการพัฒนาข้อมูลสำหรับการสนับสนุนการตัดสินใจในรูปของคลังข้อมูล (Data Warehouse) เพื่อให้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการพัฒนาระบบโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ซึ่งสามารถเรียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ได้ รวมถึงการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing: NLP) โดยผู้บริหารสามารถสั่งการระบบคอมพิวเตอร์ด้วยเสียง
• ระยะที่ 5:
วิวัฒนาการล่าสุด คือ “ระบบตัวแทนปัญญา (Intelligence Agent)” สามารถลดข้อจำกัดในการเข้าถึงฐานข้อมูลอื่น ๆ ทั่วโลก โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อ้างอิง https://misdss.wordpress.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2/

 
 

ใส่ความเห็น